====== ความสัมพันธ์ระหว่าง ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ กับ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ====== ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันฯ ทรงเล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม จึงได้ทรงก่อตั้ง "สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์" ขึ้น เมื่อพุทธศักราช 2530 เพื่อถวายเป็นราชสักการะและเฉลิมพระเกียรติในวาระอันเป็นมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา โดยรัฐบาลของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีมาโดยตลอด\\ นอกจากนี้ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ยังได้เข้าร่วมถวายพระพรชัยมงคล ในงานเฉลิมพระเกียรติฯ วาระต่างๆ ดังนี้\\ {{:th:announcement:news:2019_news:2019_05_30_statesman:p1.png|}}\\ กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จัดงานเฉลิมพระเกียรติในโอกาสทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลทางวิชาการระดับนานาชาติ และในโอกาสทรงเจริญพระชันษาครบ 50 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2550 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยมี ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ กราบทูลถวายสดุดีพระเกียรติคุณ และมีบุคคลสำคัญระดับประเทศเข้าร่วมถวายพระพรชัยมงคลในครั้งนี้ด้วย\\ {{:th:announcement:news:2019_news:2019_05_30_statesman:p2.png|}}\\ มูลนิธิจุฬาภรณ์ ร่วมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จัดงานถวายสดุดีพระเกียรติคุณเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ ผู้ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ และพระปรีชาสามารถที่ประจักษ์ต่อประชาคมโลก ในโอกาสที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัลทางวิชาการระดับนานาชาติ 2 รางวัล คือ\\ - Windaus Medal รางวัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานโดดเด่น และมีบทบาทสำคัญ ด้านความก้าวหน้าของสาขา วิชาอินทรีย์เคมี - Ramazzini Award รางวัลสำหรับผู้ที่มีผลงานโดดเด่น ด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และอาชีวเวชศาสตร์ โดยมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กล่าวถวายสดุดี เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2553 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์\\ ----