[[th:president:news:2010_news:2010_04_09_germany|{{ :thai_flag.gif|ภาษาไทย}}]] [[president:news:2010_news:2010_04_09_germany|{{ :gb_flag.gif|English language}}]] ====== องค์ประธานสถาบันฯ เสด็จเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 9-24 เมษายน พ.ศ. 2553 ====== ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เสด็จเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 9-24 เมษายน 2553 ในการเสด็จเยือนครั้งนี้ องค์ประธานสถาบันฯ จะเสด็จไปทอดพระเนตรงานวิจัยและทรงหารือแนวทางความร่วมมือ รวมทั้งทอดพระเนตรกิจกรรมด้านการวิจัยควบคู่กับการรักษาของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ตามคำกราบทูลเชิญของผู้บริหารสถาบันดังกล่าวและศาสตราจารย์ นายแพทย์ฮารัลด์ ซัวร์ เฮาเซ่น อดีตผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ ได้เข้าร่วมถวายการต้อนรับ [[http://www.dkfz.de/|สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เมืองไฮเดลแบร์ก]] เป็นสถาบันที่มีความก้าวหน้าอย่างสูงด้านงานวิจัยพื้นฐาน และในการพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ในการรักษาโรคมะเร็งโดยตรง สถาบันวิจัยแห่งนี้เป็นศูนย์ชีวการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนถึง 850 คน กำลังศึกษาค้นคว้าเรื่องกลไกของการเกิดมะเร็ง และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ด้านมะเร็ง อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการป้องกัน ตรวจวิเคราะห์โรคและรักษาโรคมะเร็ง และยังให้การเผยแพร่ความรู้เรื่องมะเร็งแก่ผู้ป่วยตลอดจนบุคคลทั่วไป เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2548 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฮารัลด์ ซัวร์ เฮาเซ่น ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาสาธารณสุข และในปี 2551 ได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ สำหรับการค้นพบว่าไวรัสหูดหรือแพ็บพิลโลมาไวรัสของคน (เอชพีวี) คือสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรี การค้นพบอันสำคัญนี้นำไปสู่ความสำเร็จในการคิดค้นวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้ องค์ประธานสถาบันฯ จะเสด็จต่อไปยังกรุงเบอร์ลิน เพื่อทอดพระเนตรงานวิชาการด้านเคมี ณ Free University of Berlin จากนั้นจะเสด็จเยือนนครมิวนิก [[http://www.fu-berlin.de/en/|Free University of Berlin]] เป็นสถาบันวิจัยชั้นนำของประเทศเยอรมนี เป็นมหาวิทยาลัยเครือข่ายนานาชาติที่มีความเป็นเลิศด้านงานริเริ่มสร้างสรรค์ มีสำนักงานและเครือข่ายมหาวิทยาลัยนานาชาติหลายแห่ง เช่นในกรุงนิวยอร์ค ปักกิ่ง และมอสโคว์ แผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้กำหนดถึงความสำคัญของงานพัฒนาการรวมกลุ่มวิสาหกิจ ความร่วมมือของนานาชาติ และบัณฑิตศึกษา การพัฒนาโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเน้นหนักด้านการวิเคราะห์พื้นที่ มนุษย์ศาสตร์ และชีววิทยาศาสตร์ องค์ประธานสถาบันฯ จะเสด็จโดยเครื่องบินของสายการบินลุฟท์ฮันซา เที่ยวบินที่ แอลเอช 773 จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ในวันศุกร์ที่ 9 เมษายน พุทธศักราช 2553เวลา 23.55 น. และจะเสด็จกลับโดยเครื่องบินของสายการบินลุฟท์ฮันซาเที่ยวบินที่ แอลเอช 782 ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ในวันเสาร์ที่ 24 เมษายน พุทธศักราช 2553 เวลา 14.05 น. {{:th:president:news:2010_news:|}} ----- ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน 2553