====== ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปทรงเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมวิทยาศาสตร์นานาชาติ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 8 ====== {{ :th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:001.jpg |}}\\ {{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:002.jpg |}}ด้วยพระปณิธานอันแน่วแน่ของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนางานวิจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการมาเป็นเวลาเกือบ 3 ทศวรรษ เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นับเป็นพระภารกิจที่สำคัญอันก่อให้เกิดคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวง ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไป\\ \\ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2559 เวลา 16.00 น. ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เสด็จไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิทยาศาสตร์นานาชาติ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 8 ในหัวข้อ “อนามัยสิ่งแวดล้อม : ความเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งแวดล้อม สารเคมี และเชื้อที่ก่อโรค” (Environmental Health: Inter-linkages among the Environment, Chemicals and Infectious Agents) และพระราชทานปาฐกถาพิเศษแก่ผู้เข้าร่วมประชุมในหัวข้อ “อนามัยสิ่งแวดล้อม : ผลกระทบของการได้รับสัมผัสสารเคมีตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิตที่มีผลต่อสุขภาพ” (Environmental Health : The Significance of Early Life Chemical Exposures)\\ \\ \\ \\ {{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:003.jpg|}}\\ {{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:004.jpg|}} {{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:005.jpg?250x144|}}\\ การประชุมวิทยาศาสตร์นานาชาติ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 8 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ครบ 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 อีกทั้งยังเป็นเวทีที่สำคัญในการนำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อม สารเคมี และเชื้อที่ก่อโรค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะได้รับองค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต\\ [{{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:006.jpg|1.1}}] [{{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:007.jpg|1.2}}] [{{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:008.jpg?166x119|2}}] [{{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:009.jpg?166x119|3}}] [{{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:010.jpg?166x119|4}}] \\ \\ \\ \\ \\ \\ \\ \\ \\ \\ การประชุมวิทยาศาสตร์นานาชาติครั้งนี้ นับได้ว่าเป็นโอกาสการรวมตัวครั้งสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ ชั้นนำที่มีชื่อเสียงจากทุกมุมโลก มาร่วมบรรยาย และนำเสนอผลงานวิจัยที่สำคัญและทันสมัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการประชุม อาทิ ศาสตราจารย์ อารอน ชิแชนโนเวอร์(1) (Professor Aaron Ciechanover) นักวิทยาศาสตร์ ระดับรางวัลโนเบล สาขาเคมี จากศูนย์วิจัยมะเร็งและชีววิทยาหลอดเลือด คณะแพทยศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีเทคเนียน-อิสราเอล เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ดร.พูนาม เคตราปาล ซิงห์(2) (Dr.Poonam Khetrapal Singh) ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Regional Director of WHO South-East Asia) ดร.เคอร์ติส แฮร์รีส(3) (Dr. Curtis C Harris) จากสถาบันมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (National Cancer Institute, U.S.A.) ดร.นอร์เบิร์ท แฟรงค์(4) (Dr. Norbert Frank) จากศูนย์วิจัยมะเร็งแห่งเยอรมนี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (German Cancer Research Center) เป็นต้น\\ {{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:011.jpg|}}\\ {{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:012.jpg|}} {{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:013.jpg|}} {{:th:president:news:2016_news:2016_11_13_pc8:014.jpg|}}\\ นอกจากนั้น การประชุมครั้งนี้ ยังได้รับความสนใจอย่างมากจากนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาระดับปริญญาโท - ปริญญาเอก และผู้สนใจทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ จำนวนกว่า 700 คน เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลทางวิชาการ ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยออกสู่สาธารณะในรูปแบบโปสเตอร์ร่วมกัน\\ ด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิริยอุตสาหะของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พระองค์ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ที่ทำให้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญ และเป็นเวทีกลางในการเผยแพร่งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกออกสู่สาธารณะ อันนำไปสู่ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต\\ //ฝ่ายบริหารและประชาสัมพันธ์ สำนักประธานสถาบัน\\ 25 พฤศจิกายน 2559//