====== แคดเมียมและธาตุอาหารอื่นๆ ในข้าวไทย ====== ==== ข้าว ผลิตผลหลักทางการเกษตร ==== ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งมี “ข้าว” เป็นผลิตผลหลักทางการเกษตร ข้าวที่ผลิตขึ้นได้ ใช้เพื่อการบริโภคภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกไปทั่วโลก ปัจจุบัน การปลูกข้าวในประเทศไทย พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมา ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ ในข้าวจะมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ชนิดต่างๆ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง เป็นต้น รวมถึงอาจมีการปนเปื้อนของโลหะหนักบางชนิดจากการเพาะปลูกได้ เช่น แคดเมียม ตะกั่ว เป็นต้น {{:announcement:articles:2009_articles:2009_08_11_cadmium:2009_08_11_cadmium_1.gif|}} \\ ==== การตรวจวิเคราะห์ ปริมาณธาตุอาหาร และโลหะหนักชนิดต่างๆ ==== ทั้งนี้ ทางศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พิษวิทยาและการบริหารจัดการสารเคมี (Center of Excellence on Environmental Health, Toxicology and Management of Chemicals; ETM) ได้ตระหนักถึง ความสำคัญของข้าวที่มีต่อประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทำการสุ่มตัวอย่างข้าวที่มีจำหน่ายภายในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมาทำการตรวจวิเคราะห์ ปริมาณธาตุอาหาร และโลหะหนักชนิดต่างๆ โดยทำการเก็บตัวอย่างข้าว ทั้งข้าวหอมมะลิ (82 ตัวอย่าง) และข้าวกล้อง (10 ตัวอย่าง) ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่า ข้าวกล้อง จะมีปริมาณธาตุอาหาร เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก สูงกว่าข้าวหอมมะลิ นอกจากนี้ในข้าวหอมมะลิที่มาจากภาคต่างๆในประเทศไทย จะพบว่ามีปริมาณธาตุอาหารไม่แตกต่างกันมาก ส่วนการปนเปื้อนของโลหะหนักนั้น พบว่า ทั้งตัวอย่างข้าวกล้องและข้าวหอมมะลิ (รวม 92 ตัวอย่าง) มีปริมาณแคดเมียม ตะกั่ว และสารหนู ไม่เกินค่ามาตรฐานสูงสุดที่กำหนดไว้ ทั้งโดยประชาคมยุโรป (European Communities) และค่ามาตรฐานของประเทศออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (Food Standard Australia-New Zealand) ดังนั้น ข้าวกล้องและข้าวหอมมะลิที่ทำการสุ่มตัวอย่างมาศึกษานี้ จึงมีคุณค่าและความปลอดภัยในการบริโภค และการเป็นสินค้าส่งออก {{:announcement:articles:2009_articles:2009_08_11_cadmium:2009_08_11_cadmium_2.gif|}} \\ === ตารางแสดงปริมาณธาตุอาหารและโลหะหนักชนิดต่างๆที่มีในข้าวไทย ปี 2550-2552 (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)* === {{:announcement:articles:2009_articles:2009_08_11_cadmium:2009_08_11_cadmium_3.gif|}} \\ a ค่ามาตรฐานสูงสุดของสารหนูใน cereals ที่กำหนดโดย Food Standard Australia New Zealand = 1.0 มก./กก.\\ b ค่ามาตรฐานสูงสุดของแคดเมียมในข้าวที่กำหนดโดย European Communities = 0.2 มก./กก.; Food Standard Australia-New Zealand = 0.1 มก./กก. \\ c ค่ามาตรฐานสูงสุดของตะกั่วใน cereals, legumes, pulses ที่กำหนดโดย European Communities และ Food Standard Australia New Zealand = 0.2 มก./กก. \\ * การวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุและโลหะหนัก โดยใช้เครื่อง Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS)\\ สารมาตรฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ rice flour SRM 1568 a จาก National Institute of Standards and Technology, USA (NIST-USA) \\ เผยแพร่ ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2552