====== เรื่องของลำไย ที่หลายๆ คนยังไม่รู้ ====== ==== ลำไย ผลไม้เศรษฐกิจสำคัญ ==== ลำไยเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อน ระยะเวลาออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลได้ประมาณ 6 เดือน ฤดูที่เราได้รับประทานลำไยกันอร่อย คือ ช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ชาวต่างชาติก็ได้หวานลิ้นหวานปากกับลำไยของเราเหมือนกัน เพราะลำไยเป็นผลไม้ส่งออกยอดนิยมอย่างหนึ่งของเมืองไทย เรามาดูกันว่า ลำไยผลไม้เศรษฐกิจสำคัญนี้ยังมีดีอะไรอีก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้เริ่มศึกษาวิจัยลำไยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยสมาคมผู้ปลูกลำไยแห่งประเทศไทย เป็นผู้ขอให้มีการศึกษาเพื่อหามูลค่าเพิ่มของลำไย ผลก็คือ เราสามารถสกัดสารสำคัญที่มีคุณค่าทางยาได้จากส่วนต่างๆ ของผลลำไย คือสารสำคัญประเภทโพลีฟีนอล 3 ชนิด ได้แก่ Gallic acid, Ellagic acid และ Corilagen จากเมล็ด เนื้อ และเปลือกของผลลำไย ลำไยพันธุ์ต่างๆ จะมีปริมาณสารสำคัญนี้แตกต่างกัน {{:announcement:articles:2010_articles:2010_06_02_longan:2010_06_02_longan.gif|}} \\ ==== การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลำไย ==== เนื่องจากเมล็ดลำไยมีสารสำคัญทั้ง 3 ชนิดมากที่สุด สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จึงได้ศึกษาหาวิธีสกัดสารสำคัญที่มีคุณค่าทางยาให้ได้ปริมาณมากที่สุด คุณค่าทางยาที่ว่านี้มีอะไรบ้าง * สามารถต้านอนุมูลอิสระได้เท่ากับสารสกัดจากชาเขียว * สามารถฆ่าเชื้อราในช่องปากได้ดี และยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดีด้วย * สามารถลดความดันเลือดได้ * สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียในหลอดทดลองได้ * สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ในหลอดทดลอง ด้วยเหตุนี้ สารสกัดเมล็ดลำไยจึงมีศักยภาพที่จะนำไปพัฒนาเพื่อทำผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น เครื่องสำอาง ยาลดความดันเลือด และยายับยั้งเชื้อราหรือแบคทีเรีย เป็นต้น ขณะนี้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์กำลังทำการวิจัยร่วมกับคณะวิทยาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อเตรียมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ง่าย และสะดวก เช่น น้ำยาแกรนูลหรือเม็ดฟู่สำหรับบ้วนปาก หรือแช่ฟันปลอม และยาทาแผลในปาก เป็นต้น ในปี 2552 สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้รักษาการติดเชื้อและราในช่องปากได้สำเร็จ ขณะนี้อยู่ในระหว่างทดสอบประสิทธิภาพทางคลินิก โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หากประสบความสำเร็จเราอาจไม่จำเป็นต้องซื้อยาฆ่าเชื้อราคาแพงทั้งหมดจากต่างประเทศอีกต่อไป ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่ใส่ฟันปลอมและดูแลรักษาไม่ดี จะได้ประโยชน์เป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามยังจะต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปอีก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์มีสี กลิ่น และรสชวนใช้ ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของผลงานวิจัยเรื่องเมล็ดลำไยคือ เป็นการนำวัสดุที่เหลือทิ้งมาเพิ่มมูลค่า ลำไยก็จะมีมูลค่าเพิ่มสำหรับชาวสวนลำไยของเราด้วย ผลงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งได้รับอนุสิทธิบัตรแล้ว คือเรื่อง “กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดโพลิฟีนอล และวิเคราะห์จากผลลำไย (//Euphoria longana// Lam., Sapindaceae) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์” ในปี พ.ศ. 2548 เรื่อง “กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดจากเมล็ดลำไย องค์ประกอบที่มีสารสกัดจากเมล็ดจากเมล็ดลำไยที่เตรียมโดยกรรมวิธีนั้น และการใช้องค์ประกอบดังกล่าว” ในปี พ.ศ. 2552 และเรื่อง “การใช้สารสกัดปัญจขันธ์ (//Gynostemma pentaphyllum// Makino), เมล็ดลำไย (//Euphoria longana// Lam.) และฟ้าทะลายโจร (//Andrographis paniculata//) ในปี พ.ศ. 2552 เป็นที่น่ายินดีว่า บทความเรื่องสารสกัดจากเมล็ดลำไย ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Food and Chemical Toxicology ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 นั้น ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มผลงานเด่น 25 เรื่องที่ผู้อ่านให้ความสนใจมากที่สุด ([[http://top25.sciencedirect.com/|Top 25 Hottest Articles]]) ในฐานข้อมูลและเว็บไซต์นานาชาติ ScienceDirect ในหมวด Agricultural and Biological Sciences และ Pharmacology, Toxicology and Pharmaceutical Science ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งเว็บไซต์นี้มีผู้เข้าเยี่ยมชมประจำถึงเกือบ 11 ล้านคนทั่วโลก และบทความนี้ ยังได้รับการจัดเป็นอันดับ 1 ของ Top 25 Hottest Articles ของวารสาร Food and Chemical Toxicology ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2550 และช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2550 ด้วย โดยยังติดอันดับอยู่ใน Top 25 Hottest Articles ของวารสารนี้เป็นเวลานาน 21 เดือน ในช่วงระหว่างมกราคม 2550 - กันยายน 2551 ==== ที่มา: ==== - โครงการ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารสกัดจากเมล็ดลำไยเพื่อใช้ในการรักษาการติดเชื้อในช่องปาก (Research and development of pharmaceutical products for oral infections from extract of longan extract) ห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ - Rangkadilok, N.; Sitthimonchai, S.; Worasuttayangkurn, L.; Mahidol, C.; Ruchirawat, M.; Satayavivad, J. [[http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleURL&_udi=B6T6P-4KW5FH9-1&_user=7676349&_coverDate=02%2F28%2F2007&_rdoc=1&_fmt=high&_orig=search&_sort=d&_docanchor=&view=c&_acct=C000072540&_version=1&_urlVersion=0&_userid=7676349&md5=a3cf428cee1ee5295a4f4794f33a3f1a|Evaluation of free radical scavenging and antityrosinase activities of standardized longan fruit extract.]] Food and Chemical Toxicology, February 2007, 45(2): 328-336. - [[http://www.sciencedirect.com/ฐานข้อมูล ScienceDirect]] คือ ระบบสืบค้นบทความวารสาร สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ จำนวนกว่า 1,800 ชื่อ ของสำนักพิมพ์ Elsevier Science, Academic Press และสำนักพิมพ์อื่นๆ รวมทั้งวารสาร Reviews (Trends & Current Opinion) จำนวนกว่า 6.2 ล้านระเบียน สามารถเข้าใช้บทความฉบับเต็ม และ เรียกใช้ full-text ย้อนหลังได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 - ปัจจุบัน เผยแพร่ ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2553