==== ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงสนับสนุนวิวัฒนาการล่าสุดของการรักษาโรคมะเร็ง ==== [{{ :th:announcement:news:2014_news:2014_10_13_ract02:1.jpg?250 |}}] ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ร้อยโทชวัช อรรถยุกติ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้แทนพระองค์เปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ หัวข้อ “ วิวัฒนาการล่าสุดของการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง (Recent Advances in Cancer Therapeutics) เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2557 ซึ่งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับมูลนิธิ ฟริทซ์ เบนเดอร์ (Fritz Bender Foundation) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ระหว่างวันที่ 13-15 ตุลาคม 2557 นับเป็นความร่วมมือครั้งที่ 3 ของทั้ง 2 หน่วยงาน และถือเป็นการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 18 ภายใต้มูลนิธิฟริทซ์ เบนเดอร์ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสวงหาแนวทางความร่วมมือในการดำเนินการศึกษาวิจัยการบำบัด รักษาโรคมะเร็งร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ [{{ :th:announcement:news:2014_news:2014_10_13_ract02:2.jpg?200 |}}] [{{ :th:announcement:news:2014_news:2014_10_13_ract02:3.jpg?250 |}}] สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สนองพระนโยบายในความมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันวิจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาโดยตลอด ดังนั้น สาระสำคัญของการประชุมดังกล่าว จึงมุ่งเน้นการบรรยายทางวิชาการเรื่องวิวัฒนาการการบำบัด รักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ได้มาจากผลการศึกษาวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันชั้นนำระดับโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถ ของบุคลากรด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์การแพทย์ อันจะเป็นกำลังสำคัญในการศึกษาวิจัยและบำบัด รักษาโรคมะเร็ง เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสได้รับการรักษาที่ดีต่อไป [{{:th:announcement:news:2014_news:2014_10_13_ract02:4.jpg?250|}}] [{{:th:announcement:news:2014_news:2014_10_13_ract02:5.jpg?250|}}] [{{:th:announcement:news:2014_news:2014_10_13_ract02:6.jpg?250|}}] การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรรับเชิญผู้มีความเชี่ยวชาญ ในการศึกษาและวิจัยทั้งระดับ พื้นฐานและระดับคลินิกเกี่ยวกับโรคมะเร็งจากสถาบัน หรือหน่วยงานที่มีชื่อเสียงด้านมะเร็งในระดับนานาชาติ จาก 11 ประเทศ จำนวน 22 ท่าน แบ่งการบรรยายออกเป็น 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ Genetic Profiles of Cancer (ข้อมูลทางพันธุกรรมของมะเร็ง), Therapeutic Targets and Drugs (ยาและเซลล์เป้าหมายในการบำบัดโรคมะเร็ง), Experimental Therapeutics: Models (การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการบำบัดรักษาโรคมะเร็งในรูปแบบต่างๆ), Tumor-Host Relationships (ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้องอกกับร่างกายผู้ป่วย) และ Translational Investigations (การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยและบำบัดรักษา) [{{ :th:announcement:news:2014_news:2014_10_13_ract02:7.jpg |}}] ผลสำเร็จของการประชุมบรรลุตามพระปณิธานของ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เนื่องจากการประชุมครั้งนี้ ได้รับความสนใจทั้งบุคลากรด้านการแพทย์ สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์การแพทย์ชาวไทย และชาวต่างชาติจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมการประชุมกว่า 250 คน