Table of Contents

Export page to Open Document format View page as slide show

ห้องสมุดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

web sites : http://lib.cri.or.th

ความเป็นมา

ห้องสมุดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ มกราคม 2539 เป็นห้องสมุดเฉพาะที่รวบรวมสิ่งพิมพ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อให้นักวิจัยและบุคลากรของสถาบันฯ ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักของสถาบันฯ

ต่อมาใน พ.ศ. 2542 สถาบันฯ ได้เริ่มกิจกรรมด้านการเรียน การสอน ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับนักศึกษานานาชาติ ในสาขาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Toxicology Technology and Management)

ห้องสมุดจึงมีหน้าที่ในการสนับสนุนการเรียน การสอนและการวิจัยระดับสูง กลุ่มผู้ใช้บริการมีทั้งอาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ และบุคลากรของสถาบันฯ รวมทั้งผู้สนใจที่เป็นบุคคลภายนอก

สาขางานวิจัยที่ห้องสมุดให้บริการ

สาขางานวิจัยที่ห้องสมุดให้บริการ คือ งานวิจัยด้านเคมี ด้านวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ดังนี้

  1. งานวิจัยด้านเคมี (Chemistry Research) มี 3 สาขา คือ
    • ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural Products)
    • เภสัชเคมี (Medicinal Chemistry)
    • อินทรีย์เคมีสังเคราะห์ (Organic Synthesis)
  2. งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (Biomedical Research) มี 4 สาขา คือ
    • ชีวเคมี (Biochemistry)
    • การเกิดมะเร็งจากสารเคมี (Chemical Carcinogenesis)
    • อิมมูโนวิทยา (Immunology)
    • เภสัชวิทยา (Pharmacology)
  3. งานวิจัยด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Toxicological Research) มี 1 สาขา คือ
    • พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Toxicology)
  4. งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnological Research) มี 1 สาขา คือ
    • เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ดังนี้

  1. หนังสืออ้างอิง หนังสือวิชาการ หนังสือทั่วไป
  2. สิ่งพิมพ์ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  3. วารสาร
  4. สำเนาบทความงานวิจัยของอาจารย์ และนักวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถึงปี 2001 *
  5. วิทยานิพนธ์ *
  6. จุลสาร *
  7. สิ่งพิมพ์พระบรมวงศานุวงศ์ *
  8. วัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น CD-ROM *

* สิ่งพิมพ์บางประเภทและวัสดุไม่ตีพิมพ์ ห้องสมุดจัดระบบหมวดหมู่ขึ้นใช้ภายใน

การดำเนินงานทรัพยากรสารสนเทศ

การดำเนินงานทรัพยากรสารสนเทศ ใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากล

การลงรายการสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด

ใช้หลักเกณฑ์การลงรายการสิ่งพิมพ์แบบ Anglo – American Cataloguing Rules, 2 nd edition (AACR 2)

การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ

ห้องสมุดใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) และใช้ระบบการวิเคราะห์หัวเรื่องของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (L.C. Subject Headings) สำหรับสิ่งพิมพ์ภาษาต่างประเทศ ส่วนสิ่งพิมพ์ภาษาไทย ห้องสมุดใช้ L.C. Classification ในการจัดหมวดหมู่ แต่ใช้หัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย จัดทำโดยคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ในการให้หัวเรื่อง

สิ่งพิมพ์บางประเภท (ที่มีเครื่องหมาย *) และวัสดุไม่ตีพิมพ์ ห้องสมุดจัดระบบหมวดหมู่ขึ้นใช้ภายใน

หนังสือจัดเรียงบนชั้นตามลำดับเลขหมู่ของ L.C. Classification

วารสารจัดขึ้นชั้นเรียงตามอักษรชื่อ โดยไม่ได้จัดหมวดหมู่ วารสารเล่มปัจจุบันขึ้นชั้น แยกจากวารสารเล่มย้อนหลัง

ฐานข้อมูลของห้องสมุด

จัดทำโดยใช้โปรแกรม MINI–MICRO CDS/ISIS ได้แก่

  1. BOOK ฐานข้อมูลหนังสือ
  2. CRI PUBL ฐานข้อมูลสิ่งพิมพ์ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  3. JOURNAL ฐานข้อมูลวารสาร
  4. REPC ฐานข้อมูลสำเนาบทความงานวิจัยของอาจารย์และนักวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  5. THESIS ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
  6. PAMPHLET ฐานข้อมูลจุลสารที่น่าสนใจ

บริการของห้องสมุด

บริการของห้องสมุด ได้แก่

1. บริการแจ้งข่าว

เป็นบริการที่ห้องสมุดแจ้งข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัยของสถาบันฯ ห้องสมุดแจ้งข่าวสารโดยผ่าน Web Page ของห้องสมุด ส่งบันทึกเวียนห้องปฏิบัติการ และติดบอร์ดห้องสมุด

2. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด

เป็นการแนะนำการใช้บริการของห้องสมุด และตอบคำถามทั่วไป

3. บริการตอบคำถาม และช่วยค้นคว้า

เป็นบริการเพื่อช่วยในการค้นคว้าข้อมูลสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ ข้อมูลเหล่านั้นอาจอยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร หรือสิ่งไม่ตีพิมพ์ เช่น CD-ROM, E-JOURNAL, ฐานข้อมูล ONLINE แหล่งข้อมูลอาจมีทั้งที่ให้บริการอยู่ภายในห้องสมุด และที่เชื่อมโยงไปยังแหล่งสารสนเทศต่างๆ ภายนอกห้องสมุด

4. บริการผ่าน Web Page ของห้องสมุด

ห้องสมุดให้บริการสืบค้นรายการต่างๆ ผ่าน URL http://lib.cri.or.th ดังนี้

5. บริการสืบค้นข้อมูลออนไลน์

ห้องสมุดให้บริการสืบค้นไปยังแหล่งสารสนเทศภายนอกทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

6. บริการให้ยืมสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด

ผู้มีสิทธิยืมสิ่งพิมพ์

ห้องสมุดให้บริการยืมสิ่งพิมพ์เฉพาะบุคลากร และนักศึกษาของสถาบันฯ ที่ได้เป็นสมาชิกมีบัตรห้องสมุดเท่านั้น รวมทั้งผู้ที่ได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษในบางกรณี

การเป็นสมาชิกห้องสมุด

บุคลากรของสถาบันฯ และนักศึกษาใช้รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (สีหรือขาวดำ) ในการสมัครสมาชิก

วัสดุ – สิ่งพิมพ์ ที่ให้ใช้ในห้องสมุดเท่านั้น

การต่ออายุการยืมสิ่งพิมพ์

ผู้ใช้อาจขอต่ออายุสิ่งพิมพ์ โดยการนำมาที่ห้องสมุดหรือโทรศัพท์ติดต่อเจ้าหน้าที่ ห้องสมุดที่ โทร.2303

ค่าปรับสิ่งพิมพ์เกินกำหนด

นักศึกษาผู้คืนสิ่งพิมพ์เกินกำหนดต้องเสียค่าปรับ ดังนี้ หนังสืออ้างอิงและหนังสือจอง 5 บาท / เล่ม / ชั่วโมง หรือ 40 บาท / เล่ม / วัน สิ่งพิมพ์อื่นๆ 3 บาท / เล่ม / วัน การคิดค่าปรับไม่นับวันที่ห้องสมุดปิดทำการ

สิ่งพิมพ์หาย

ผู้ยืมต้องเสียค่าปรับตามอัตราของสิ่งพิมพ์นั้นๆ นับตั้งแต่วันกำหนดส่งจนถึงวันที่แจ้ง การหาย และต้องชำระเงินในการจัดซื้อเล่มทดแทนรวมทั้งค่าดำเนินการ ผู้ยืมต้องจ่ายทดแทนสำหรับสิ่งพิมพ์ที่ทำชำรุดเสียหายมากเช่นเดียวกับหนังสือหาย

7. บริการยืมระหว่างห้องสมุด

เป็นบริการจัดหาสำเนาบทความซึ่งไม่มีในห้องสมุด CRI จากห้องสมุดหรือแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ห้องสมุดให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดเฉพาะผู้ใช้ที่ทำบัตรห้องสมุดเท่านั้น ค่าบริการขึ้นอยู่กับห้องสมุดที่จัดส่งเอกสารมาให้

8. บริการถ่ายเอกสาร

ผู้ใช้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ คือ ไม่อนุญาตให้ทำการถ่ายเอกสาร หนังสือ หรือวารสาร ทั้งเล่ม

บริการถ่ายเอกสารให้บริการแก่ผู้ใช้ที่เป็นบุคลากรของสถาบันฯ และบุคคลภายนอก โดยมีอัตราค่าถ่ายสำเนาเอกสารตามขนาดของกระดาษ กระดาษ ขนาด A4 แผ่นละ 0.50 บาท กระดาษ ขนาด B4 แผ่นละ 1.00 บาท

จำนวนและระยะเวลาการให้ยืมสิ่งพิมพ์

ประเภทของสิ่งพิมพ์ผู้ยืมจำนวนที่ให้ยืม/เล่มระยะเวลาให้ยืม/วัน
วารสาร
วารสารเล่มเย็บบุคลากรสถาบันฯ33
นักศึกษา13
วารสารเล่มปลีกบุคลากรสถาบันฯและนักศึกษา33
วารสารฉบับรับล่าสุด*บุคลากรสถาบันฯ33
นักศึกษา13
หนังสือ
หนังสืออ้างอิง*บุคลากรสถาบันฯและนักศึกษา11
หนังสือจองบุคลากรสถาบันฯและนักศึกษา11
หนังสือวิชาการบุคลากรสถาบันฯ37
นักศึกษา37
สิ่งพิมพ์ทั่วไปบุคลาการสถาบันฯ37
นักศึกษา33
สิ่งพิมพ์สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
มีมากกว่าหนึ่งฉบับบุคลากรสถาบันฯและนักศึกษา33
มีหนึ่งฉบับในห้องสมุดไม่ให้ยืม

* วารสารเล่มปลีกฉบับรับล่าสุดและหนังสืออ้างอิง ให้ยืมออก 15 นาที ก่อนห้องสมุดปิด และส่งคืนก่อนเที่ยงของวันกำหนดส่ง

วันและเวลาเปิดบริการ

วันราชการ จันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 17.00 น. ห้องสมุดอาจขยายเวลาเปิดบริการตามความเหมาะสม ในช่วงที่มีการเรียน การสอน

ห้องสมุดปิดทำการ เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดราชการ

แผนผังห้องสมุด

สถานที่ตั้ง

ห้องสมุดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ ถนนวิภาวดี–รังสิต กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์

0-2574-0622-33 ต่อ 2303
0-2574-2973

โทรสาร

0-2574-0616

บุคลากร

โทรศัพท์ : 02-574-2973, 02-574-0622-33 ext.2315
E-mail :

โทรศัพท์ : 02-574-0622-33 ext.2313
E-mail :

โทรศัพท์ : 02-574-0622-33 ext.2303
E-mail :

บริการสำหรับนักศึกษาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์

เนื่องจากห้องสมุดสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ กำลังดำเนินการก่อสร้าง นักศึกษาจึงต้องใช้บริการของห้องสมุดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยปฏิบัติตามระเบียบของห้องสมุด และได้รับบริการทุกชนิด เช่นเดียวกับนักศึกาาของมอบหมายให้บริการแก่นักศึกษาของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ห้องสมุดได้จัดหนังสือตำรา การเรียนการสอนของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ขึ้นชั้นแยกจากหนังสือวิชาการของห้องสมุดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เพื่อความสะดวกในการใช้เล่ม

จำนวนเล่มหนังสือที่ให้ยืม และระยะเวลาการให้ยืม ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม เช่น เวลาใกล้การสอบ

วัน – เวลา การเปิด – ปิด ห้องสมุดปรับตามเวลาการเรียน – การสอน

รายงานประจำปี 2551

annual_report_2551.pdf