การใช้งาน CRI wiki สำหรับ admin
โครงสร้างเนื้อหาของ CRI wiki
โครงสร้างเนื้อหาของ CRI wiki เป็นดังนี้
หน้า home แสดง homepage ของสถาบัน
หน้า about แสดงข้อมูลทั่วไปของสถาบัน
หน้า president แสดงข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประธาน
หน้า lab แสดงหน้าเว็บเกี่ยวกับสำนักวิจัย และห้อง lab ต่างๆ
หน้า academic แสดงหน้าเว็บเกี่ยวกับสำนักวิชาการ
หน้า iceht แสดงหน้าเว็บเกี่ยวกับศูนย์พิษวิทยาฯ
หน้า publications แสดงรายการ ผลงานวิจัยของสถาบัน
หน้า announcement แสดงประกาศของสถาบัน
หน้า manual แสดงวิธีใช้ CRI wiki
namespace ต่างๆ เก็บข้อมูลหน้าเว็บย่อย โดยใช้ชื่อเดียวกับหน้าเว็บด้านบน
และ namespace staff เก็บ homepage ของพนักงาน
การกำหนดสิทธิ สำหรับผู้ดูแลเนื้อหา CRI wiki
namespace iceht ให้ คุณวีณา, คุณวันดี มีสิทธิ์แก้ไขทุกอย่าง
namespace lab ให้ คุณจารุวรรณ มีสิทธิ์แก้ไขทุกอย่าง
namespace publications ให้ คุณจารุวรรณ มีสิทธิ์แก้ไขทุกอย่าง
namespace announcement ให้ คุณวันดี มีสิทธิ์แก้ไขทุกอย่าง
namespace about ให้ คุณอรุณศักดิ์ มีสิทธิ์แก้ไขทุกอย่าง
namespace academic ให้ คุณอรุณศักดิ์ มีสิทธิ์แก้ไขทุกอย่าง
namespace president ให้ คุณอรุณศักดิ์ มีสิทธิ์แก้ไขทุกอย่าง
namespace academic:libraries ให้ คุณเกษศิรินทร์ มีสิทธิ์แก้ไขทุกอย่าง
namespace stock_photo ให้ คุณปัญจรัตน์ มีสิทธิ์แก้ไขทุกอย่าง
ให้เฉพาะ คุณปัญจรัตน์ มีสิทธิ์แก้ไข namespace stock_photo ได้ในระยะเริ่มต้นนี้
การจัดการ access control
การจัดการ access control เป็นการจัดการการเข้าถึง หน้าเนื้อหา และหมวดเนื้อหา (Namespace) ของ CRI wiki
การจำกัดการเข้าถึงใน CRI wiki
CRI wiki ถูกออกแบบให้ user สามารถเข้าถึง หน้าเนื้อหา และ หมวดเนื้อหาดังนี้
- user ที่ไม่ได้ login สามารถอ่านหน้าเนื้อหาได้ แต่ไม่สามารถแก้ไขได้
- user ที่ login แล้ว สามารถแก้ไขหน้าเนื้อหาได้ทุกหน้า ยกเว้นหน้า home ซึ่งเป็น homepage ของ CRI wiki
- user ที่ไม่ได้ login ไม่สามารถอัพโหลด เอกสาร มาไว้ใน CRI wiki ได้
- user ที่ login แล้ว สามารถอัพโหลด เอกสาร มาไว้ใน CRI wiki ได้ ในทุกๆ namespace แต่ไม่สามารถเขียนทับ หรือลบเอกสารที่มีอยู่แล้วได้
- หน้า private และ namespace private เช่น private มีไว้ให้ user นั้นๆใช้เท่านั้น user อื่นไม่สามารถอ่านหรือ แก้ไขได้
- namespace private ของ user นั้นๆ อนุญาตให้ user นั้นๆ อัพโหลดเอกสาร ได้ รวมทั้งเขียนทับ และลบเอกสารที่มีอยู่แล้วได้ด้วย
- หน้า public และ namespace public เช่น public มีไว้ให้ ใครก็ได้เข้ามาแก้ไข แม้แต่ user ที่ไม่ได้ login
การใช้งาน permission info plugin
วิธีการแก้ไข permission ใน CRI wiki
การแก้ไข permission ประกอบด้วยสามส่วนคือ page, user, และ permission
- page คือการเลือกหน้าเนื้อหา หรือ namespace ที่ต้องการแก้ไข เช่น :about, :lab:natural_products:
- user คือการเลือก user หรือ group ที่ต้องการแก้ไข เช่น anurat, user, lab
- permission คือการเลือกค่า permission ที่ต้องการแก้ไข
ค่า permission มีดังนี้
- None กำหนดให้ user ไม่สามารถอ่าน page ได้
- Read กำหนดให้ user สามารถอ่าน page ได้
- Edit กำหนดให้ user สามารถอ่าน และแก้ไข page ได้
- Create กำหนดให้ user สามารถอ่าน, แก้ไข และสร้าง page ใหม่ ใน namespace ได้
- Upload กำหนดให้ user สามารถอ่าน, แก้ไข และสร้าง page ใหม่ใน namespace ได้ และสามารถ upload เอกสาร ไปไว้ที่ namespace ได้
- Delete กำหนดให้ user สามารถอ่าน, แก้ไข และสร้าง page ใหม่ใน namespace ได้ และสามารถ upload เอกสาร, แก้ไขและลบเอกสาร ภายใน namespace ได้
ค่า permission Create, Upload, และ Delete สามารถกำหนดให้ namespace ได้เท่านั้น ส่วน page สามารถกำหนดได้แค่ None, Read และ Edit
การเพิ่ม permission ใน ACL management
- ทำการ login แบบ admin เข้าสู่ระบบ
- กดปุ่ม Admin ที่ด้านล่างของหน้าจอ
- คลิกที่ Access Control List Management
- ทำการเลือก หน้าเนื้อหา หรือ namespace ที่หน้าต่างด้านซ้ายมือ
- ทำการเลือก user หรือ group ที่หน้าต่างด้านขวามือ
- ในหน้าต่างด้านขวามือ ทำการเลือก permission ที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Save
การแก้ไข permission ที่มีอยู่แล้ว
- ทำการ login แบบ admin เข้าสู่ระบบ
- กดปุ่ม Admin ที่ด้านล่างของหน้าจอ
- คลิกที่ Access Control List Management
- หา page/namespace และ user/group ที่ต้องการแก้ไขในตารางด้านล่างของหน้าจอ
- เปลี่ยน permission เป็นค่าที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Update
การลบ permission ที่มีอยู่แล้ว
- ทำการ login แบบ admin เข้าสู่ระบบ
- กดปุ่ม Admin ที่ด้านล่างของหน้าจอ
- คลิกที่ Access Control List Management
- หา page/namespace และ user/group ที่ต้องการแก้ไขในตารางด้านล่างของหน้าจอ
- เลือก checkbox ด้านขวามือสุด ของ permission ที่ต้องการจะลบ แล้วกดปุ่ม Update
โครงสร้าง namespace ของ user
namespace ของ user จะอยู่ใน namespace staff เช่น :staff:anurat: (anurat) โดยจะมีทั้งหน้าเนื้อหา และ namespace ในชื่อเดียวกัน เช่นหน้าเนื้อหา :staff:anurat จะมี namespace :staff:anurat: ด้วย
ใน namespace ของ user จะมี namespace อีก 2 อันคือ private และ public เช่น :staff:anurat:private private และ :staff:anurat:public public
หน้าเนื้อหา private และ namespace private มีไว้ให้ user นั้นใช้งานเท่านั้น คนอื่นๆ ไม่สามารถเข้ามาอ่านได้ เช่นเขียน memo, diary และอื่นๆ
หน้าเนื้อหา public และ namespace public มีไว้ให้ ใครก็ได้เข้ามาใช้ร่วมกับ user เช่นร่วมกันเขียน papers, articles หรือจัดตั้ง project ต่างๆ
การสร้าง namespace ของ user ใหม่
- สร้างหน้าเว็บ ดังต่อไปนี้
- หน้าเว็บ staff:<user> กำหนดให้เป็น homepage ของ <user>
- namespace staff:<user>: กำหนดให้เป็น namespace ของ <user>
- หน้าเว็บ staff:<user>:public กำหนดให้เป็น หน้าเว็บที่ให้ใครก็ได้เข้ามาแก้ไข
- namespace staff:<user>:public: กำหนดให้เป็น public namespace ของ <user>
- หน้าเว็บ staff:<user>:private กำหนดให้เป็น หน้าเว็บที่ <user> เท่านั้นที่อ่าน และแก้ไขหน้าเว็บได้
- namespace staff:<user>:private: กำหนดให้เป็น private namespace ของ <user>
- การกำหนด permission
- กำหนด หน้าเว็บ staff:<user>:public ให้ group @ALL มี permission เป็น Edit
- กำหนด namespace staff:<user>:public: ให้ group @ALL มี permission เป็น Upload
- กำหนด หน้าเว็บ staff:<user>:private ให้ group @ALL มี permission เป็น None
- กำหนด หน้าเว็บ staff:<user>:private ให้ <user> มี permission เป็น Edit
- กำหนด namespace staff:<user>:private: ให้ group @ALL มี permission เป็น None
- กำหนด namespace staff:<user>:private: ให้ <user> มี permission เป็น Delete