การใช้งาน CRI wiki ขั้นพื้นฐาน
- การเข้าสู่หน้าต่างๆ วิธีการเข้าสู่หน้าเว็บต่างๆ เช่น หน้า index, หน้า backlinks และอื่นๆ
- การจัดการเอกสาร วิธีการจัดการหน้าเนื้อหา สร้าง, ลบ, แก้ไข หน้าเว็บใน CRI wiki
- การแก้ไขหน้าเนื้อหา วิธีการแก้ไขหน้าเนื้อหา การจัดแต่งหัวเรื่อง อักษร สร้างลิงก์ และอื่นๆ
- การทำงานกับรูปภาพ วิธีการจัดการรูปภาพ, upload รูปภาพ ใส่ไฟล์รูปภาพ jpg, gif, png
- การทำงานกับเอกสารอื่นๆ วิธีการจัดการเอกสาร word, excel, pdf และอื่นๆ
การเข้าสู่หน้าต่างๆ
CRI wiki มีหน้าที่ผู้ใช้สามารถสร้างได้ ทั้งหมด 2 แบบคือ หน้าเนื้อหา (page) และ หมวดเนื้อหา (Namespace) หน้าเนื้อหา คือ หน้าเว็บที่สามารถใส่เนื้อหา ข้อความ รูปภาพ ลงไปได้ หมวดเนื้อหา คือ การจัดกลุ่มหน้าเนื้อหา หลายๆหน้า เข้าด้วยกัน เปรียบเหมือนกับโฟลเดอร์ ใน Microsoft Windows ที่ใช้จัดเก็บไฟล์เอาไว้ด้วยกัน หมวดเนื้อหาจึงสามารถจัดเก็บ หน้าเนื้อหาหลายๆหน้า หรือจัดเก็บ หมวดเนื้อหา ก็ได้ด้วย
ส่วนหน้าพิเศษที่ CRI wiki มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ได้แก่ หน้า login, หน้า index, หน้าประวัติการแก้ไข, หน้าแก้ไขเนื้อหา, หน้า backlinks, หน้าการเปลี่ยนแปลงเร็วๆนี้, และหน้าค้นหา มีวิธีการเข้าดังต่อไปนี้
การ login เข้าสู่ระบบ
วิธีการเข้าสู่ระบบทำได้ดังนี้
- เข้าสุ่หน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเข้าไปที่ http://www2.cri.or.th
- ที่หน้าแรกของเว็บไซต์ ให้กดปุ่ม Login ที่มุมล่างขวาของหน้า
- ทำการใส่ username และ password แล้วกดปุ่ม Login
- ถ้าพิมพ์ username และ password ถูกต้อง จะสามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลใน CRI wiki ได้
การเข้าสู่หน้า index
หน้า index คือหน้าที่แสดง หน้าเนื้อหา และ หมวดเนื้อหา (Namespace) ทั้งหมดของ CRI wiki โดยจะมีลิงก์ไปที่แต่ละหน้าได้โดยตรง สามารถเข้าสู่หน้า index ได้ดังนี้
- ทำการ login เข้าสู่ระบบ
- กดปุ่ม Index ที่มุมล่างขวาของหน้า
การเข้าสู่หน้าประวัติการแก้ไข
หน้าประวัติการแก้ไข คือหน้าที่แสดงรายละเอียด การสร้าง, การเปลี่ยนแปลงข้อมูล, การลบ หน้าเนื้อหา เอาไว้ ทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการแก้ไข หน้าเนื้อหานั้นๆกี่ครั้ง ใครเป็นคนแก้ไข และแก้ไขเมื่อไหร่
นอกจากนี้ยังสามารถทำการเปรียบเทียบ ระหว่างการแก้ไขแต่ละครั้ง ได้ว่ามีการแก้ไขอะไรไปบ้าง แก้ไขมากน้อยแค่ไหนอีกด้วย วิธีการเข้าสู่หน้าประวัติการแก้ไขทำได้ดังนี้
- ทำการ login เข้าสู่ระบบ
- เข้าสู่หน้าเนื้อหา ที่ต้องการดูประวัติการแก้ไข เช่น president
- คลิกปุ่ม Old revisions ที่มุมบนซ้ายของหน้า
การเข้าสู่หน้าแก้ไขเนื้อหา
หน้าแก้ไขเนื้อหา คือหน้าที่ใช้แก้ไข เนื้อหา ข้อความ ลิงก์ และรูปภาพ ได้โดยผ่านทางเว็บ บราวเซอร์ ได้เลย วิธีการเข้าสู่หน้าแก้ไขเนื้อหา ทำได้ดังนี้
- ทำการ login เข้าสู่ระบบ
- เข้าสู่หน้าเนื้อหา ที่ต้องการแก้ไข เช่น president
- คลิกที่ปุ่ม Edit this page ที่มุมบนซ้ายของหน้า
การเข้าสู่หน้า backlinks
หน้า backlinks คือหน้าที่แสดง หน้าเว็บอื่นๆที่มีลิงก์ มายังหน้าเนื้อหานั้นๆ โดยปกติแล้ว หน้าเว็บจะมีลิงก์ไปยังหน้าเว็บอื่นๆ แต่จะไม่สามารถบอกได้ว่า มีหน้าเว็บไหนที่มีลิงก์ มาที่เว็บนั้นๆบ้าง หน้า backlinks จึงช่วยให้เห็นว่ามีหน้าเว็บอื่นๆ ที่มีลิงก์มาที่หน้าเว็บนี้ มากแค่ไหน การเข้าสู่หน้า backlinks ทำได้ดังนี้
- ทำการ login เข้าสู่ระบบ
- เข้าสู่หน้าเนื้อหา ที่ต้องการดู backlinks เช่น president
- คลิกที่ชื่อหน้าเว็บ ที่มุมบนซ้ายของหน้า
การเข้าสู่หน้า การเปลี่ยนแปลงเร็วๆนี้
หน้าการเปลี่ยนแปลงเร็วๆนี้ เป็นการสรุปหน้าเว็บ ที่มีการแก้ไขในช่วงที่ผ่านมา โดยเรียงลำดับตามวันและเวลาที่ทำการแก้ไข หน้าเว็บที่เพิ่งมีการแก้ไขจะแสดงก่อน หน้าเว็บที่แก้ไขไว้นานกว่า การเข้าสู่หน้า การเปลี่ยนแปลงเร็วๆนี้ ทำได้ดังนี้
- ทำการ login เข้าสู่ระบบ
- กดปุ่ม Recent changes ที่มุมบนขวาของหน้า
การค้นหาหน้าเว็บ CRI wiki
สามารถทำการค้นหา หน้าเว็บต่างๆ ใน CRI wiki ตาม keyword ได้ดังนี้
- ทำการ login เข้าสู่ระบบ
- พิมพ์ keyword ที่ต้องการค้นหา ในช่องข้อความ ที่มุมบนขวาของหน้า และกดปุ่ม Search
การจัดการเอกสาร
การจัดการเอกสาร แบ่งเป็น การจัดการหน้าเนื้อหา และการจัดการหมวดเนื้อหา
ได้แก่ การสร้าง, แก้ไข, เปลี่ยนชื่อ และ ลบหน้าเนื้อหา
และ การสร้าง, เปลี่ยนชื่อ และ ลบหมวดเนื้อหา
การสร้างหน้าเนื้อหาใหม่
การสร้างหน้าเนื้อหาใหม่ ทำได้สองวิธีดังนี้
วิธีที่ 1 : ใช้ปุ่ม search
- พิมพ์ชื่อหน้าเนื้อหาในช่อง search ที่มุมบนด้านขวา เช่น :abouts, :presidents, :lab:natural_productss แล้วกดปุ่ม search
- ถ้ายังไม่มีหน้าเนื้อหานี้ จะมีปุ่ม Create this page ขึ้นมา ให้กดปุ่มนี้
- ทำการกรอกข้อมูล แล้วกดปุ่ม Preview เพื่อดูตัวอย่างการแก้ไข หรือปุ่ม Save เพื่อสร้างหน้าเนื้อหานี้
วิธีที่ 2 : ใช้ลิงก์
- ทำการแก้ไขหน้าเนื้อหาที่มีอยู่แล้ว ด้วยการเพิ่มลิงก์ใหม่เช่น abouts presidents, natural_productss แล้วเซฟหน้าเนื้อหา
- ถ้าลิงก์ที่สร้างยังไม่มี ตัวอักษรจะเป็นสีแดง ให้คลิกที่ลิงก์
- กดปุ่ม Create this page
- ทำการกรอกข้อมูล แล้วกดปุ่ม Preview เพื่อดูตัวอย่างการแก้ไข หรือปุ่ม Save เพื่อสร้างหน้าเนื้อหานี้
การแก้ไข หน้าเนื้อหา
เข้าสู่หน้าแก้ไขเนื้อหา แล้วทำการแก้ไขเนื้อหาในช่องแก้ไข
การเปลี่ยนชื่อหน้าเนื้อหา
ชื่อหน้าเนื้อหาที่สร้างไว้แล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อได้ แต่สามารถใช้วิธีต่อไปนี้
- สร้างหน้าเนื้อหาใหม่โดยใช้ชื่อใหม่
- คัดลอกเนื้อหาจากหน้าเดิมไปใส่แทน
- ลบหน้าเนื้อหาเดิม
แต่วิธีนี้จะทำให้ประวัติการแก้ไข หน้าเนื้อหาเดิมหายไป เพราะหน้าเนื้อหาที่เปลี่ยนชื่อไป ถือเป็นหน้าใหม่
การลบหน้าเนื้อหา
การลบหน้าเนื้อหา ทำได้ด้วยการเข้าไปที่ หน้าแก้ไขเนื้อหา ที่ต้องการจะลบ แล้วลบข้อความในช่องแก้ไขทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Save
การสร้างหมวดเนื้อหา (Namespace)
การสร้างหมวดเนื้อหา ทำได้โดยการสร้างหน้าเนื้อหาภายในหมวดเนื้อหานั้นๆ เช่น ถ้าต้องการสร้างหมวดเนื้อหา abouts ให้สร้างหน้าเนื้อหาภายในหมวดเนื้อหา abouts เช่นสร้างหน้า :abouts:test ระบบจะสร้างหมวดเนื้อหา abouts ขึ้นเอง
หากต้องการสร้างหมวดเนื้อหา ภายในหมวดเนื้อหาอีกที ก็สามารถทำได้ด้วยวิธีเดียวกัน เช่นต้องการสร้างหมวดเนื้อหา board ในหมวดเนื้อหา abouts ให้ทำการสร้างหน้า :abouts:board:test แล้วระบบจะสร้างหมวดเนื้อหา board ขึ้นเอง
การเปลี่ยนชื่อหมวดเนื้อหา (Namespace)
ชื่อหมวดเนื้อหาที่สร้างไว้แล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อได้ แต่สามารถใช้วิธ๊ต่อไปนี้
- สร้างหมวดเนื้อหาใหม่ ด้วยการคัดลอก หน้าเนื้อหาในหมวดเนื้อหาเก่า ไปที่หมวดเนื้อหาใหม่ การคัดลอกทำได้ด้วยการสร้างหน้าเนื้อหาใหม่ แล้วคัดลอกเนื้อหาไปใส่ ทีละหน้า
- ลบหน้าเนื้อหาเก่าทั้งหมด
แต่วิธีนี้จะทำให้ประวัติการแก้ไข ของหน้าเนื้อหาทั้งหมดหายไป เพราะหน้าเนื้อหาที่สร้างขึ้นใหม่ ถือว่าเป็นหน้าใหม่
การลบหมวดเนื้อหา (Namespace)
การลบหมวดเนื้อหา ทำได้ด้วยการลบหน้าเนื้อหาภายใน หมวดเนื้อหาทั้งหมด หมวดเนื้อหาจะหายไปเอง
การแก้ไขหน้าเนื้อหา
การระบุหัวเรื่อง
- ทำให้เนื้อหาใน CRI wiki มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เหมือนกันทุกๆหน้า
- เนื้อหามีโครงสร้างที่แน่นอน อ่านง่าย
- จะมีสารบัญสร้างให้เองโดยอัตโนมัติ
- สามารถสร้างลิงก์ไปที่หัวเรื่องได้โดยตรง
เนื้อหาที่ป้อนใน CRI wiki ควรมีการกำกับ และแบ่งส่วนเอกสารให้ชัดเจน โดยเนื้อหาที่เป็นหัวเรื่องให้กำกับด้วย H<n> โดย <n> แทนด้วยตัวเลข 1 - 5
- การระบุหัวเรื่อง สามารถระบุได้ 5 ลำดับ คือหัวเรื่อง 1 ถึงหัวเรื่อง 5 โดยใช้เครื่องหมาย = พิมพ์ต่อกันตามจำนวนคล่อมข้อความกำกับหัวเรื่อง โดย
- หัวเรื่อง 1 ให้พิมพ์ = จำนวน 6 ตัว ดังนี้ ====== หัวเรื่อง ======
- หัวเรื่องลำดับอื่น ก็ให้ลดจำนวน = ลงตามลำดับ
====== หัวเรื่อง 1 ====== ===== หัวเรื่อง 2 ===== ==== หัวเรื่อง 3 ==== === หัวเรื่อง 4 === == หัวเรื่อง 5 ==
การจัดแต่งอักษร
- การทำตัวหนา ให้พิมพ์ ** คล่อมข้อความ เช่น ตัวหนา พิมพ์ด้วยคำสั่ง **ตัวหนา**
- การทำตัวเอียง ให้พิมพ์ // คล่อมข้อความ เช่น ตัวเอียง พิมพ์ด้วยคำสั่ง //ตัวเอียง//
- การขีดเส้นใต้ ให้พิมพ์ __ คล่อมข้อความ เช่น ตัวขีดเส้นใต้ พิมพ์ด้วยคำสั่ง __ตัวขีดเส้นใต้__
- สามารถใช้สัญลักษณ์ผสมกัน เพื่อสร้างแบบอักษรผสมผสานกันได้ เช่น ตัวหนาและเอียง พิมพ์ด้วยคำสั่ง **//ตัวหนาและเอียง//**
- การทำตัวอักษรยกขึ้น (Superscript) เช่น A2 พิมพ์ด้วยคำสั่ง A<sup>2</sup>
- การทำตัวห้อย (Subscript) เช่น H2O พิมพ์ด้วยคำสั่ง H<sub>2</sub>O * สามารถขีดฆ่าข้อความได้
ขีดฆ่าข้อความพิมพ์ด้วยคำสั่ง <del>ขีดฆ่าข้อความ</del>
การเว้นบรรทัดและย่อหน้า
การขึ้นบรรทัดใหม่สามารถทำได้โดย พิมพ์เครื่องหมาย backslash 2 ครั้งติดกัน เช่น
บรรทัดที่ 1 \\ บรรทัดที่ 2 \\ บรรทัดที่ 3
จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
บรรทัดที่ 1
บรรทัดที่ 2
บรรทัดที่ 3
การขึ้นย่อหน้าใหม่ทำได้โดย เว้นบรรทัดว่าง 1 บรรทัดขึ้นไป เช่น
ย่อหน้าที่ 1 ย่อหน้าที่ 2 ย่อหน้าที่ 3
จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
ย่อหน้าที่ 1
ย่อหน้าที่ 2
ย่อหน้าที่ 3
การสร้างลิงก์ (Link)
วิธีการสร้างลิงก์ ทำได้ดังนี้
[[ลิงก์|คำอธิบาย]]
เช่น
[[http://www.google.com|Google website]] [[http://www.nature.com/news/2008/081121/full/news.2008.1248.html|Nature news]] [[advanced|การใช้งาน CRI wiki ขั้นสูง]] [[iceht:activities:training|Short-term training program]] [[.anurat:services:dokuwiki|Dokuwiki]] [[..:staff:anurat:services:equipment|Equipment inventory]]
จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
Google website
Nature news
การใช้งาน CRI wiki ขั้นสูง
Short-term training program
Dokuwiki
Equipment inventory
ตัวอย่างที่ 1 และ 2 เป็นการสร้างลิงก์ไปยังเว็บไซท์ภายนอก CRI wiki สามารถทำได้โดยคัดลอก URL มาใส่ได้เลย และเครื่องหมาย | ใช้คั่นคำอธิบายเว็บไซท์นั้นๆ
ตัวอย่างที่ 3 เป็นการสร้างลิงก์ภายใน CRI wiki ในหมวดเนื้อหา (Namespace) เดียวกัน
CRI wiki จะใช้เครื่องหมาย : แทนเครื่องหมาย / ใน URL เช่นหน้าวิธีใช้นี้คือ http://www2.cri.or.th/manual/basic จะสามารถอ้างถึงได้ด้วย :manual:basic ซึ่งหมายถึงหน้าเนื้อหา basic ถูกเก็บอยู่ในหมวดเนื้อหา (Namespace) manual ดังนั้น ถ้าอ้างถึง advanced จะหมายถึงหน้าเนื้อหา advanced ในหมวดเนื้อหา manual (http://www2.cri.or.th/manual/advanced)
ตัวอย่างที่ 4 เป็นการสร้างลิงก์ภายใน CRI wiki ด้วยการพิมพ์ iceht:activities:training ซึ่งจะหมายถึงหน้าเว็บ http://www2.cri.or.th/iceht/activities/training โดยถ้าชื่อแรกเป็นหมวดเนื้อหา CRI wiki จะอ้างถึงหมวดเนื้อหาล่างสุด ไม่ได้หมายถึงหมวดเนื้อหาปัจจุบัน
ตัวอย่างที่ 5 เป็นการสร้างลิงก์ภายใน CRI wiki ด้วยการพิมพ์ .anurat:services:dokuwiki ซึ่งจะอ้างถึงหน้าเว็บ http://www2.cri.or.th/manual/anurat/services/dokuwiki โดย . จะหมายถึง หมวดเนื้อหาปัจจุบัน ซึ่งคือ manual
ตัวอย่างที่ 6 เป็นการสร้างลิงก์ภายใน CRI wiki ด้วยการพิมพ์ ..:staff:anurat:services:equipment ซึ่งจะอ้างถึงหน้าเว็บ http://www2.cri.or.th/staff/anurat/services/equipment โดย .. จะหมายถึงให้ย้อนจาก หมวดเนื้อหาปัจจุบัน 1 ขั้น
การแสดง email address
การแสดง email address ใน CRI wiki ไม่ควรจะพิมพ์ email address ลงไป เพราะจะมีโปรแกรมที่คอยหา email address สำหรับส่ง สแปม (spam) และเมล์ขยะ (junk mail)
ถ้าพิมพ์ email address เป็นตัวอักษร โปรแกรมจะสามารถเก็บ email address ไปได้ ดังนั้นจึงควรแสดง email address เป็นรูปภาพแทน เช่น
จะเห็นว่า email address ที่แสดงอยู่ เป็นรูปภาพ ไม่ใช่ตัวอักษรไม่สามารถคัดลอกได้
การแสดง email address เป็นรูปภาพ ทำได้โดยการใส่ <m> tag ดังนี้
<m>[email protected]</m>
การทำรายการ
การทำรายการแบบ bullet ให้เว้นช่องว่างหน้าบรรทัด 2 เคาะ แล้วพิมพ์เครื่องหมาย * การทำรายการแบบ เลขลำดับ ให้เว้นช่องว่างหน้าบรรทัด 2 เคาะ แล้วพิมพ์เครื่องหมาย -
ถ้าต้องการทำรายการซ้อนรายการ ให้เว้นช่องว่างเพิ่มอีก 2 เคาะ
ตัวอย่างการทำรายการ
เคาะ1เคาะ2* รายการแบบ bullet ที่ 1 เคาะ1เคาะ2* รายการแบบ bullet ที่ 2 เคาะ1เคาะ2เคาะ3เคาะ4- รายการแบบเลขลำดับที่ 2.1 เคาะ1เคาะ2เคาะ3เคาะ4- รายการแบบเลขลำดับที่ 2.2 เคาะ1เคาะ2เคาะ3เคาะ4เคาะ5เคาะ6* รายการแบบ bullet ที่ 2.2.1 เคาะ1เคาะ2* รายการแบบ bullet ที่ 3
จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
- รายการแบบ bullet ที่ 1
- รายการแบบ bullet ที่ 2
- รายการแบบเลขลำดับที่ 2.1
- รายการแบบเลขลำดับที่ 2.2
- รายการแบบ bullet ที่ 2.2.1
- รายการแบบ bullet ที่ 3
การสร้างตาราง
- ใช้เครื่องหมาย | เป็นส่วนตัวกั้นตาราง โดยให้คั่นแต่ละรายการด้วย | ตามจำนวนคอลัมน์ ตัวอย่าง ตารางข้อมูลขนาด 3 คอลัมน์ 2 แถว
|aaa|bbb|ccc| |111|222|333|
จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
aaa | bbb | ccc |
111 | 222 | 333 |
- การระบุหัวเรื่องให้กับตาราง ให้ระบุด้วยเครื่องหมาย ^ นำหน้าข้อความ ตัวอย่างเช่น
^ ^ไตรมาส 1^ไตรมาส 2^ ^ค่าน้ำ|50|25| ^ค่าไฟ|100|200|
จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
ไตรมาส 1 | ไตรมาส 2 | |
---|---|---|
ค่าน้ำ | 50 | 25 |
ค่าไฟ | 100 | 200 |
- การจัดตำแหน่งข้อความในตาราง การจัดชิดซ้ายให้เว้นช่องว่าง 2 เคาะหลังข้อความ, การจัดชิดขวาให้เว้นช่องว่าง 2 เคาะนำหน้าข้อความ และการจัดกึ่งกลางให้เว้นช่องว่างทั้งหน้าและหลังข้อความจำนวน 2 เคาะ ตัวอย่างเช่น
^ ^ไตรมาส 1^ไตรมาส 2^ ^ ค่าน้ำ | 50| 25| ^ค่าไฟฟ้า| 100| 200|
จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
ไตรมาส 1 | ไตรมาส 2 | |
---|---|---|
ค่าน้ำ | 50 | 25 |
ค่าไฟฟ้า | 100 | 200 |
การใส่ comment
การใส่ footnote
การใส่ footnote ทำได้โดยใช้เครื่องหมาย (( )) ล้อมรอบข้อความ เช่น
เนื้อหาส่วนนี้ อ้างอิงจาก ((http://www2.cri.or.th/manual เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551))
จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
เนื้อหาส่วนนี้ อ้างอิงจาก 1)
การทำงานกับรูปภาพ
การนำรูปภาพใส่ในเอกสาร สามารถทำได้ดังนี้
- ทำการอัพโหลด ไฟล์รูปภาพมาไว้ที่ CRI wiki
- เลือกรูปภาพเพื่อแสดงผลบนเว็บ
การอัพโหลดรูปภาพ
ให้คลิกที่ปุ่ม Add images and other files จะมีหน้าต่าง Media Files เปิดขึ้นมา
หน้าต่าง Media Files มีไว้สำหรับจัดการไฟล์รูปภาพ และไฟล์เอกสารชนิดอื่นๆ (เช่น Microsoft Word, Excel, pdf และอื่นๆ)
ในหน้าต่างจะแบ่งหน้าจอเป็นสามส่วน
หน้าจอด้านซ้าย ใช้สำหรับเลือกโฟลเดอร์สำหรับเก็บไฟล์รูปภาพ
หน้าจอด้านขวาบน ใช้สำหรับเลือกไฟล์เพื่ออัพโหลด สู่ CRI wiki
หน้าจอด้านขวาล่าง ใช้สำหรับเลือกไฟล์ที่อัพโหลดแล้ว ไปแสดงบนหน้าเว็บใน CRI wiki
การอัพโหลดรูปภาพ ให้เลือกโฟลเดอร์สำหรับเก็บไฟล์รูปภาพก่อน
จากนั้นเลือกไฟล์เพื่ออัพโหลด (สามารถกดปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์) แล้วกดปุ่ม Upload
ถ้ายังไม่ได้สร้างโฟลเดอร์ที่ต้องการอัพโหลด สามารถทำได้ด้วยการใส่ชื่อโฟลเดอร์ ตามด้วย เครื่องหมาย : ก่อนหน้าชื่อไฟล์ เช่น :manual:basic:picture.jpg จะอัพโหลดไฟล์ picture.jpg ไปไว้ที่โฟลเดอร์ /manual/basic
การเลือกรูปภาพ
ให้คลิกที่ปุ่ม Add images and other files เพื่อเปิดหน้าต่าง Media Files
เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการ
เลือกไฟล์รูปภาพที่ต้องการแสดงผล
จากนั้นคลิกเลือกภาพที่ต้องการ หรือ upload ภาพใหม่เข้าสู่ระบบก่อนจึงเลือก โดยโปรแกรมจะระบุคำสั่งในรูปแบบ ดังนี้ {{:ชื่อไฟล์ภาพพร้อมส่วนขยาย?ความกว้าง}} เช่น ภาพที่ย่อขนาด {{:bluhearts.jpg?100}}
ภาพที่ถูกย่อให้มีความกว้าง 50 พิกเซล
สำหรับการจัดตำแหน่งภาพ ใช้เทคนิคการเพิ่มช่องว่าง (Space) 2 เคาะ หน้า และ/หรือ หลัง คำสั่งภาพ เช่นต้องการจัดให้ภาพอยู่กึ่งกลาง ให้เคาะช่องว่า่งทั้งหน้าและหลัง 2 เคาะดังนี้ {{เคาะเคาะ:wiki:dokuwiki-128.pngเคาะเคาะ|ภาพขนาดปกติ}}