งานวิจัยปัจจุบัน
1. ผลกระทบของมลพิษสิ่งแวดล้อมและสารเคมีอุตสาหกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านพยาธิสรีระวิทยา:
โครงการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบที่เป็นอันตรายของมลพิษสิ่งแวดล้อมและสารเคมีอุตสาหกรรมที่มีต่อสุขภาพของประชาชน โดยทำการศึกษาดังนี้
- การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพประชากรโดยทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการได้รับสารมลพิษ การถูกทำลายและความไวต่อการได้รับสารมลพิษแต่ละบุคคลตลอดจนสารบ่งชี้ทางชีวภาพต่างๆ
• มลพิษทางอากาศ: งานวิจัยเน้นการศึกษาความเสี่ยงของการได้รับสารมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพของประชากรในเมือง โดยเฉพาะสารก่อมะเร็ง เช่น พีเอเอช เบนซีน และ 1,3-บิวตาไดอีนในประชากรกลุ่มต่างๆ
• สารหนู: เป็นสารก่อมะเร็งในสิ่งแวดล้อม จากรายงานการได้รับสารหนูของประชากรในอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราชในปี 2530 ทางห้องปฏิบัติการฯจึงได้เริ่มทำการศึกษาเบื้องต้นในการตอบสนองต่อเซลล์หลังจากได้รับสารหนูในกลุ่มประชากรดังกล่าว
2. การศึกษาผลของการขาดสารอาหารต่อการเกิดมะเร็งและสารเคมีที่เป็นพิษ
การขาดสารอาหารในรูปต่างๆ ยังคงปรากฎอยู่ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งการขาดสารอาหารพวกวิตามินต่างๆ โดยเฉพาะวิตามินบียังคงเกิดขึ้นแม้ว่าจะได้รับอาหารที่ประกอบด้วยวิตามินก็ตาม
ทางห้องปฏิบัติการฯ ได้ทำการศึกษาผลของการขาดวิตามินบีต่อความเป็นพิษของสารเคมีอุตสาหกรรมและสารก่อมะเร็ง เช่น acrylonitrile, styrene และเบนซีนรวมทั้ง dimethylnitrosamine
3. ผลกระทบของสารเคมีอุตสาหกรรมในสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพของคนงานและกลุ่มประชากรในเขตโรงงานอุตสาหกรรม
เพื่อศึกษาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนงานและประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตโรงงานอุตสาหกรรม โดยโครงการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบของสารเคมีต่อสุขภาพของคนงานและกลุ่มประชากรในเขตโรงงานอุตสาหกรรม
งานวิจัยมีดังนี้คือ
• ตรวจวัดและวิเคราะห์สารมลพิษที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมและบริเวณทำงาน โดยการวัดระดับและวิเคราะห์สารอิมทรีย์ระเหยในอากาศและตัวอย่างน้ำรวมทั้งแก๊สในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเคมีและโรงงานอุตสาหกรรมเคมี
• วิเคราะห์ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพต่างๆของการได้รับสารเคมี ผลกระทบทางชีวภาพ และความไวต่อการได้รับสารเคมี ในเลือดและปัสสาวะในกลุ่มคนงานและประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของสารมลพิษเคมีในสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชากร
4. การตรวจวัดมลพิษด้วยเทคนิคไดอีเล็กโตรโฟเลซีซ (Dielectrophoresis, DEP)
วิธีการปัจจุบันที่ใช้ในการตรวจวัดสารพิษในแหล่งน้ำและน้ำประปาจะอิงอยู่กับการทดสอบในห้องทดลอง และการทดสอบทางชีววิทยาโดยอาศัยสัตว์น้ำ ซึ่งวิธีการทั้งสองนี้ดูเหมือนว่ายังจะมีข้อด้อยอยู่ การตรวจวัดมลพิษที่รวดเร็วถือว่าเป็นหัวใจสำคัญทั้งในงานวิจัยและการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม การบังคับใช้มาตรการควบคุมมลพิษเพื่อสุขภาพของประชาชน ฉะนั้นความสามารถในการดำเนินการทดสอบอย่างรวดเร็วกับตัวอย่างภาคสนามหลายๆตัวย่อมจะเป็นก้าวที่สำคัญเพื่อการขับเคลื่อนงานวิจัยและการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม
โครงงานวิจัยนี้เกิดจากความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเท็กซัส ศูนย์มะเร็งเอ็มดีแอนเดอสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากเทคนิคไดอิเล็กโตรโฟเลซีซเพื่อการตรวจวัดมลพิษระดับต่ำที่พบในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนจากโรงงานอุตสาหกรรมและการเกษตร ไดอิเล็กโตรโฟเลซีซเป็นไดอิเล็กโตรโฟเลซีสเป็นการเคลื่อนที่ในแนวขนาน (translational motion) ของอนุภาคที่เป็นกลาง (neutral matter) ในสนามไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอ (nonuniform electric field) โดยมีสาเหตุจากปรากฏการณ์โพลาไรเซชั่น (polarization) การเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้างของเยื้อหุ้มเซลล์จะมีผลต่อค่าการเก็บประจุและการนำไฟฟ้าของเซลล์ซึ่งส่งผลต่อคุณสมบัติทางไดอีเล็กติกของเซลล์ในที่สุดแม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้อาจมีสาเหตุมาจากการสัมผัสกับสารเคมีของเซลล์ ดังนั้นจึงเป็นที่คาดหวังได้ว่าเทคนิคไดอีเล็กโตรโฟเลซีซนี้จะสามารถใช้เป็นวิธีตรวจวัดมลพิษในแหล่งน้ำได้อย่างรวดเร็วและค่าใช้จ่ายต่ำ
ไดอีเล็กโตรโฟเลซีซเมื่อใช้ร่วมกับเทคนิค Field-Flow Fractionation หรือที่เรียกว่า dFFF จะทำให้การตรวจวัดวามเป็นพิษเป็นไปได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยผุ้เชี่ยวชาญในการทดสอบ
dFFF สามารถตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางไดอิเล็กติกของเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว (ภายใน 15 นาทีของการสัมผัสสาร) และมีความไวในการตรวจวัดระดับไมโครโมล่า) ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จากวารสาร Analytical Chemistry คลิก→Dielectrophoretic Field-Flow Fractionation System for Detection of Aquatic Toxicants
กระดานสนทนาประจำห้องปฏิบัติการพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมคลิกที่นี่